Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก
Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก
Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก
Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก
Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก
Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก
Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก
Crazy new tattoo technique
ทำกันไปได้ยังไงหา โคตรน่ากลัวเลย แก่ตัวไปจะทำยังไง มี ลูกบอกลูก มีเพื่อนบอกเพื่อน อย่าให้ไปทำเด็ดขาด
ปล. และห้ามลอกเลียนแบบ ห้ามลองเด็ดขาดๆๆๆๆๆๆๆๆ
สการ์' แฟชั่นสุดเจ็บปวดแกะลายบนร่างกาย
ไทยอินเทรนด์อิมพอร์ตศิลปะเลือดสาดที่เรียกว่าการทำสการ์บนผิวหนัง สร้างลวดลายด้วยการกรีดผิวหนัง ด้านช่างสการ์มือหนึ่งโชว์ศิลปะแนวใหม่หนีความจำเจของการเจาะและการสัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (23 ธ.ค. 47) ที่สตูดิโอมูนสตาร์ ซอยลาดพร้าว 80 ได้มีการสาธิตแฟชั่นแนวใหม่ "สการ์" หรือการกรีดร่างกายให้เป็นแผลตามรูปภาพที่ต้องการ โดยคาดว่าสการ์จะมาแรงเบียดให้แฟชั่นการสักและการเจาะตามร่างกายให้กับผู้พิสมัย และมีรสนิยมประเภทนี้ในอนาคต
นายพรชัย แกล้วทนง เจ้าของร้าน ลามะ แทตทู จ.ภูเก็ต ผู้เชี่ยวชาญมือหนึ่งในการกรีดสการ์ เปิดเผยว่า ศิลปะสการ์บนร่างกายที่มีเสน่ห์นี้ ถือได้ว่าใหม่มากสำหรับประเทศไทย ซึ่งสการ์มีจุดกำเนิดมานานมากแล้ว คาดว่าน่าจะมาจากชนเผ่าแถบแอฟริกา สวีเดน อังกฤษ และชนเผ่าพื้นเมืองของแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งถือเป็นการหลีกหนีความจำเจทางด้านศิลปะบนร่างกาย นอกเหนือจากการสักและการเจาะร่างกาย หลีกหนีรูปแบบเดิมๆ จากที่ผ่านมา
"เริ่มจากเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ได้รู้จักกับนักท่องเที่ยวจากประเทศฝรั่งเศสคนหนึ่งที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งมาเที่ยวพร้อมใช้บริการสักที่ร้านเรา พอได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน ซึ่งถือว่าถูกคอมาก เพราะเขาก็มีร้านสักยันต์อยู่ที่บ้านเขา ซึ่งตอนนั้นทำให้เรารู้จักและสนใจแฟชั่นจากการใช้มีดกรีดร่างกาย หรือที่เรียกว่า สการ์"
นักกรีดกล่าวต่อว่า การเริ่มเรียนรู้ในตอนนั้นเราเห็นว่าศิลปะบนร่างกาย เช่น การสัก การเจาะตามที่ต่างๆ ของประเทศไทยนั้นเริ่มอิ่มตัว
ทั้งนี้ ผมเริ่มจากการเป็นลูกมือหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมฝึกฝนครูพักลักจำมานานกว่า 10 ปี โดยวิธีการฝึกฝนพอกลับก็จะซื้อเนื้อหมูมานั่งกรีดให้ได้น้ำหนักเบาที่สุด เพราะศิลปะสการ์ประเภทนี้ทำแล้วไม่สามารถลบได้ โดยผู้สักยันต์ต้องใช้น้ำหนักที่แม่นยำที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาหมดเนื้อหมูไปเป็นจำนวนมหาศาลเลยทีเดียว
สำหรับวิธีการจะทำสการ์นั้น เริ่มแรกเราจะต้องคุยกับลูกค้าก่อน เพื่อสอบถามประวัติและความมั่นใจ เนื่องจากเมื่อทำแล้วไม่สามารถลบได้ โดยพื้นที่ที่นักสักนิยมคือบริเวณหัวไหล่และบริเวณช่องท้อง ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นฝรั่ง มีทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยแบบที่นิยมมากที่สุดจะเป็นรูปดาวขนาดเล็กสุดประมาณ 1 ซ.ม. และขนาดใหญ่สุดก็ประมาณ 1 คืบ ซึ่งหากต้องการลายใหญ่กว่านั้นก็จะนัดให้มาอีกวันหนึ่ง เนื่องจากกลัวอักเสบและติดเชื้อ ซึ่งก่อนที่จะเริ่มสักสการ์นั้นลูกค้าจะต้องพักผ่อนให้เพียงพอ งดการเที่ยวและดื่ม
"ขั้นตอนนั้นเมื่อพร้อมก็เริ่มจากทำความสะอาดบริเวณที่ต้องการด้วยแอลกอฮอลล์ แล้วฉีดยาชา รอประมาณครึ่ง ช.ม. ตรวจสอบความชาก่อนลงมือ "กรีด" ซึ่งจะใช้มีดผ่าตัดปลายแหลมของแพทย์ โดยการลงมีดแต่ละขั้นตอนนั้นเราจะไม่ร่างแบบก่อน โดยแบบจะอยู่ในหัว ใช้เวลาประมาณ 1 ช.ม. แล้วจึงจะทำความสะอาดแผล พันแผลก่อนปิดด้วยฟอยล์เป็นอันเสร็จ โดยเราจะมียาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อให้กินอีกตลอด 2 เดือน เป็นอันเสร็จสิ้น โดยห้ามโดนน้ำ ซึ่งช่วงอายุที่เหมาะสมก็ประมาณ 20-30 ปี เพราะเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อไม่มีการเปลี่ยนแปลง สนนราคาคิดเป็นชั่วโมงละ 2,500 บาทขึ้นไป แล้วแต่รูปแบบควมยากง่ายของรูปภาพ
ด้านนายโชติ บุญนะ ผู้ถูกทำสการ์ เผยว่า ส่วนตัวเป็นคนที่อยู่ในวงการศิลปะและรักกิจกรรมประเภทนี้มาก โดยได้ทำการเจาะร่างกายมานานแล้ว เมื่อมีแฟชั่นใหม่ที่สะใจเข้ามาฮิตก็ยินดีอินเทรนด์
"ผมเชื่อว่าการสการ์โดยการใช้มีดกรีดร่างกายเพื่อให้ปรากฏลายที่ต้องการนั้น อนาคตจะกลับมาเป็นที่นิยมมากที่สุดในกลุ่มคนวัยรุ่น เพราะนอกเหนือจากความสวยแล้วยังสะใจอีกด้วย" ผู้มีรสนิยมเดียวกันกล่าวสรุป เทปของรายการวีไอพี ซึ่งผลิตโดยบริษัท โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด นั้น ออนแอร์ในวันที่ 10 ม.ค. 47 ที่จะถึงนี้
ข้อมูลจาก
หนังสือพิมพ์ X-Cite ไทยโพสต์
ภาพประกอบ ทางอินเทอร์เน็ต
ซี้ดดส์! "สการ์"แฟชั่นกรีดตัว เทรนด์สยองของวัยรุ่นชอบเจ็บ
เห็นแล้ว "เจ็บ" แทน แต่วัยรุ่นน่ะเป็นวัยอยากรู้อยากลอง คะนองไปตามเรื่องราว จนลืมความเจ็บปวด ไม่อย่างนั้นเนื้อตัวร่างกายของวัยรุ่นยุคสมัยที่อะไรๆ ก็เป็น "เทรนด์" คงไม่มีรอยสัก รอยเจาะเต็มไปหมด
ว่าแต่แฟชั่นทั้ง "สัก" ทั้ง "เจาะ" น่ะเชยเต็มทีแล้ว เพราะถ้าจะให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ เขาต้อง "กรีด"
แฟชั่นเจ็บตัวอีกหนึ่งอย่างที่กำลังมาแรงนั่นคือ "สการ์" (Scar) หรือการกรีดผิวหนังให้เป็นรอยแผลเป็น ตามแบบลวดลายต่างๆ คล้ายกับการสัก แต่เรื่องความเจ็บไม่ต้องพูดถึง การทำสการ์เจ็บกว่าการสักหลายสิบเท่า แต่ก็อย่างว่าเทรนด์ใหม่เสียอย่างแม้ว่าจะเจ็บมากแค่ไหน วัยรุ่นวัยโจ๋ทนได้กันอยู่แล้ว แถมแฟชั่นเจ็บๆ อย่าง "สการ์" กำลังฮิตฮ็อตในหมู่วัยรุ่นที่นิยมความเจ็บอีกด้วย หลายเสียงของเจ้าของร้านสักต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่ามีวัยรุ่นสนใจเข้ามาทำสการ์กันไม่น้อยทีเดียว
"บอล" เจ้าของร้านสัก "นานา แทตทู" ย่านตรอกข้าวสาร เล่าว่า แฟชั่นการทำสการ์เป็นเทรนด์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกา ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นชาวต่างชาติ ระยะหลังวัยรุ่นไทยเริ่มให้ความสนใจทำสการ์กันมากขึ้น มีวัยรุ่นเริ่มสนใจมาสอบถามและสนใจทำกันมากขึ้น บางเดือนสูงถึง 10 คน สาเหตุที่วัยรุ่นไทยยังไม่กล้าทำ เพราะรู้สึกว่าวิธีการทำสการ์น่ากลัวเจ็บมากกว่าการสัก และเสียเลือดมากด้วย
ชักอยากรู้แล้วสิว่าถ้าอยากให้แฟชั่นเจ็บนี้มาประดับบนเรือนร่างต้องทำอย่างไรบ้าง
ช่างสักย่านถนนข้าวสาร อธิบายว่าขั้นแรกต้องทำความเข้าใจกับลูกค้าก่อนว่าทำแล้วไม่สามารถลบได้และต้องดูแลความสะอาดแผลให้ดี เพราะโอกาสที่แผลจะติดเชื้อมีสูงมาก เมื่อเข้าใจแล้วลูกค้าจะเลือกลาย จากนั้นจะทำความสะอาดผิวหนังด้วยแอลกอฮอล์บริเวณที่จะทำสการ์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นบริเวณหัวไหล่ ท้อง และแผ่นหลัง หลังจากทำความสะอาดเสร็จก็จะฉีดยาชา เมื่อร่างกายชาแล้วจึงเริ่มใช้มีดกรีดผิวหนังเป็นลวดลายต่างๆ มีดที่ใช้จะเป็นมีดชนิดเดียวกันที่หมอใช้ผ่าตัด โดยจะเลาะผิวหนังด้านนอกออก ที่สำคัญการกรีดมีดลงบนผิวหนังต้องกรีดให้เบาที่สุดไม่ควรลึกมาก เพราะหากลึกเกินไปคมมีดอาจไปโดนเส้นเลือดได้ โดยเครื่องมือในการทำทุกชิ้นต้องผ่านการทำความสะอาดมาอย่างดี ประมาณ 2-3 อาทิตย์เนื้อที่เลาะออกก็กลายเป็นแผลเป็น หลังจากทำเสร็จแล้วก็จะมียาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดให้ลูกค้ากลับไปทานต่อที่บ้าน ระยะเวลาในการทำขึ้นอยู่กับลายที่ลูกค้าเลือก หากลายยากการทำก็จะนานเป็นชั่วโมง ส่วนราคาจะแพงกว่าการสักประมาณ 2-3 เท่า ตั้งแต่ 3,000-10,000 บาท
ด้านเจ้าของร้านสักย่านตลาดนัดตะวันนาบางกะปิ ย้ำเป็นเสียงเดียวกันว่า แฟชั่นการทำสการ์นั้นยังใหม่มากสำหรับวัยรุ่นไทย แต่ช่วงนี้วัยรุ่นจะเข้ามาถามที่ร้านกันมากขึ้น เพราะเห็นมาจากในหนังสือและตามเว็บไซต์ต่างๆ แต่พออธิบายถึงขั้นตอนการทำว่ามันเจ็บมาก และค่าใช้จ่ายสูง หลายคนก็กลัวและไม่กล้าทำ แต่ก็มีหลายคนที่พร้อมจะทำสการ์ ลวดลายการทำนั้น ร้านก็ดูแบบมาจากหนังสือลายสักจากต่างประเทศ ซึ่งช่างสักที่ร้านก็กำลังเรียนการทำสการ์อยู่ ส่วนใหญ่ก็ไปเรียนกันที่ย่านสักดังๆ อย่างถนนข้าวสาร สิ่งที่เป็นห่วงคนทำสการ์ก็คือแผลที่กรีดเสร็จแล้วนั้นต้องดูแลความสะอาดให้ดี และห้ามโดนน้ำ หากดูแลไม่ดีแล้วโอกาสแผลจะติดเชื้อและเน่าก็มีโอกาสสูงเช่นเดียวกัน และที่สำคัญค่าใช้จ่ายที่แพงในการทำสการ์นั้นหากวัยรุ่นที่ยังต้องหาเงินเองไม่ได้ก็ควรวางแผนการใช้จ่ายเงินให้ดีด้วย
เทรนด์ใหม่อย่างแฟชั่นการทำสการ์นั้น ไม่ใช่เห็นแค่เป็นแฟชั่นเทรนด์ใหม่เข้ามาแล้ววัยรุ่นจะต้องทำตามกันไปเสียทุกอย่าง หากแต่วัยรุ่นที่ตัดสินใจจะทำอะไรตามแฟชั่นแล้ว ควรคิดและไตร่ตรองให้ดีก่อนว่าสิ่งที่ทำไปนั้นจะมีผลกระทบต่อร่างกายและอนาคตของตัวเองมากแค่ไหน เพราะบางทีตามแฟชั่นมากเกินไปก็อาจจะทุกข์ใจในอนาคตก็เป็นได้
มติชน